วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ยินดีต้อนรับนิสิตป.โท ป.เอกทุกท่านครับ

22 ความคิดเห็น:

Plan Admin กล่าวว่า...

ก่อนแสดงความเห็น ในที่นี้คือการส่งงาน ต้องสมัครสมาชืกก่อนนะครับ

Plan Admin กล่าวว่า...

โดยการคลิ๊กที่ แสดงความเห็น ...
แล้วกรอก email address ที่มีอยู่จริงของคุณ
และ กำหนด password กำหนด user name

tapanee กล่าวว่า...

ส่งงานค่ะ..

นโยบายสาธารณะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสาธารณะและการเมือง เน้นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างรัฐศาสตร์กับรัฐประศาสนศาสตร์ และให้ความสำคัญทั้งในทฤษฎีเชิงปทัสฐานและทฤษฎีเชิงประจักษ์ (Normative and Empirical Theory) โดยนักรัฐศาสตร์ให้ความสำคัญกับการศึกษานโยบายสาธารณะ ในแง่ “กระบวนการ” (Process) และนักรัฐประศาสนศาสตร์ ให้ความสนใจกับการศึกษานโยบายสาธารณะในแง่ของ “ผลผลิต” (Output)

คำจำกัดความของนโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมหรือสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือเลือกที่จะไม่กระทำขึ้น และคำจำกัดความอย่างเฉพาะเจาะจง หมายถึง แผนงาน โครงการที่กำหนดขึ้นมา โดยบุคคล กลุ่มบุคคลหรือรัฐบาล ที่มุ่งความสำเร็จอย่างมีเป้าหมายชัดเจน มีคุณค่าและการปฎิบัติต่างๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ภายใต้พื้นฐานการมุ่งตอบสนองแก้ปัญหาต่างๆ อันเนื่องมาจากหน้าที่ของภาครัฐและหน้าที่การปฎิบัติงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ ภายใต้การตัดสินใจที่จะกระทำหรืองดเว้นที่จะกระทำและเป็นเอกสารที่มีผลทางกฏหมาย โดยที่นโยบายจะเป็นหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์ความรู้สึกของผู้ปฎิบัติ

ผู้กำหนดนโยบายสาธารณะต้องคำนึงถึงการดูแลปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลเป็นตัวแปรทางภูมิศาสตร์และประชากร เผชิญกับความคาดหวังของประชาชนและกลุ่มกดดันต่างๆ ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาและนักการเมือง รวมถึงต้องเผชิญกับขีดจำกัดมากมายในรูปของระเบียบและกฏหมาย ซึ่งเป็นงานให้บริการและแก้ปัญหาสังคม เช่น การแก้ปัญหาจราจร ความชอบธรรมต่างๆ อยู่ที่การยอมรับของชุมชนและการตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ขับเคลื่อนพัฒนาไปได้ในระดับประเทศ

ในฐานะนักวางแผนภาคและเมือง (รวมทั้งชุมชนและชนบท) มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญกับนโยบายสาธารณะ เนื่องจากการพัฒนาในระดับภาค เมือง ชุมชน รวมทั้งชนบทนั้น ต้องมีการกำหนดแนวนโยบายเพื่อนำไปสู่การปฎิบัติให้เป็นรูปธรรมในเชิงกายภาพ หรือเรียกว่า “การวางแผนเชิงพื้นที่” ภายใต้ระบบการบริหารบ้านเมืองที่มีความซับซ้อน อันหมายถึงความทับซ้อนทางการบริหารของหน่วยงานในพื้นที่ การกำหนดนโยบายทางการวางแผนภาคและเมือง (รวมทั้งชุมชนและชนบท) นั้นจึงควรให้ประชาชนในพื้นที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในการพัฒนา เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นเมื่อนำแผนไปปฏิบัติ นักวางแผนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้ถึงบริบท เอกลักษณ์ วัฒนธรรมและรายละเอียดทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่อย่างแท้จริง เพื่อไม่ให้เกิดความล้มเหลวของนโยบายในภายหลัง ทั้งนี้ต้องศึกษาจากบทเรียนในการปฎิบัติที่ผ่านมาในอดีต ไม่ยึดถือเอาแบบอย่างจากสังคมตะวันตกเป็นเกณฑ์ จึงนับได้ว่านักวางแผนภาคและเมือง คือ ผู้ที่สร้างสภาพแวดล้อม กำหนดแบบแผนวิถีชีวิตให้กับผู้ที่อยู่ในเมืองได้อาศัยอยู่และอยู่อาศัยอย่างเป็นสุขและปลอดภัย

ผู้ส่ง..นางสาวฐปณี รัตนถาวร นิสิตปริญญาเอก สาขาการวางแผนภาคและเมือง ID 5074403925

ที่มา : จุมพล หนิมพานิช.2547 "การวิเคราะห์นโยบาย"กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Frohock, Fred M.1945 “Public Policy” Printed in The United States of America .

vittawat กล่าวว่า...

นโยบายสาธารณะ (Public Policy)
คำจำกัดความ
นโยบายสาธารณะ (Public Policy) คือเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการบริหารและพัฒนาประเทศทั้งในทางสังคมเศรษฐกิจและการเมือง แต่นโยบายสาธารณะจะมีความสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้รับการนำไปปฏิบัติให้ปรากฎเป็นจริง เพราะนโยบายสาธารณะมิใช่เป็นสิ่งที่แสดงเจตจำนงหรือวามตั้งใจของรัฐบาลที่จะกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดเท่านั้น แต่จะต้องครอบคลุมถึงการนำไปปฏิบัติให้ปรากฎเป็นจริงด้วย
โดยนโยบายสาธารณะมีความสำคัญคือรัฐบาลที่สามารถกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับ ความต้องการของประชาชน และสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะได้รับความเชื่อถือและความนิยมจากประชาชน ส่งผลให้รัฐบาลดังกล่าวมีโอกาสในการดำรงอำนาจในการบริหารประเทศยาวนานขึ้นและนโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตทางการเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้นประชาชนสามารถแสดงออกซึ่งความต้องการของพวกเขาผ่านกลไกทางการเมืองต่างๆเช่น ระบบราชการ นักการเมือง ความต้องการดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่ระบบการเมืองไปเป็นนโยบายสาธารณะ เมื่อมีการนำนโยบายไปปฏิบัติและได้ผลตามเป้าประสงค์ ก็จะทำให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
และในฐานะนักวางแผนภาคและเมือง นโยบายสาธารณะก็มีความสำคัญในการการกำหนดทิศทางเพื่อการพัฒนาประเทศไม่ว่าจะเป็นในส่วนที่เป็นเมืองหรือส่วนที่เป็นชนบท เพราะตัวนโยบายจะเป็นตัวกำหนดทิศทางให้ออกมาซึ่งแผนการในการพัฒนา หรือเป็นกรอบในการพัฒนา เพื่อตอบสนองนโยบายนั้นๆ โดยนโยบายที่ดีก็ควรที่จะให้ประชาชนในพื้นที่ที่จะนำนโยบายนั้นๆ ไปปฏิบัติจริง ได้ร่วมกันคิดหรือร่างนโยบายนั้นด้วย เพราะว่าคุณลักษณะสำคัญของสิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของแต่ละกลุ่มพื้นที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นการกำหนดนโยบายที่ดีและเหมาะสม อาจช่วยให้เกิดผลกระทบในทางลบน้อยที่สุด นอกจากนี้การกำหนดนโยบายที่ชัดเจนนอกจากจะระบุแนวทางในการปฏิบัติอย่างชัดเจนแล้วยังครอบคลุมถึงแนวทางในการควบคุม กำกับและตรวจสอบการนำแผนไปปฏิบัติอย่างรัดกุม เพื่อให้ทราบอย่างแน่ชัดว่านโยบายที่มี มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไร และเราจะพัฒนาแนวทางการรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ดังนั้นก็จะเห็นได้ว่า การกำหนดนโยบายที่ดีก็จะมีผลต่อเนื่องมาสู่การกำหนดมาตรการเพื่อทำให้นโยบายนั้นๆ ประสบความสำเร็จ
ผู้ส่ง : นายวิทวัส กิ่งสุวรรณ นิสิตปริญญาโท สาขาการวางผังเมือง รหัสนิสิต 507 41517 25
อ้างอิง : สมบัติ ธำรงธัญวงศ์.2540, วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพ.
David, James W.,Jr 1974. An Introduction to Public Administration. New York: The Free Press.

S.sittichok กล่าวว่า...

- นโยบายสาธารณะ (PUBLIC POLICY) คือ แนวทางการดำเนินการกิจกรรมของรัฐบาล ซึ่งรวมทั้งกิจกรรมที่ผ่านมาในอดีต กิจกรรมที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน และกิจกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต(1)
- นโยบายสาธารณะ (PUBLIC POLICY) คือ สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลจะเลือกกระทำหรือไม่กระทำ(2)

หากพิจารณาจากความหมายของนโยบายสาธารณะที่ได้กล่าวมาก็คือ แนวทางการดำเนินกิจกรรมหรือการกระทำต่างๆที่รัฐบาลได้กระทำขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อประชาชนที่อยู่ในสังคม
การวางผังเมือง ก็ถือได้ว่าเป็นการนำนโยบายของรัฐบาลมาสู่การปฏิบัติ เพราะว่าเป็นการกำหนดรูปแบบของการใช้พื้นที่ให้เป็นไปตามแบบแผนที่วางไว้ ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวนโยบายที่อยู่ในระดับสูงขึ้น ตัวอย่างเช่นการกำหนดเขตผังเพื่อการอนุรักษณ์โบราณสถานของเทศบาล เพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาในระดับจังหวัด หรือ ประเทศ

Reference:
1) ศุภชัย ยาวะประภาษ. นโยบายสาธารณะ. 2550. หน้า3
2) Thomas R. Dye. Understandindg Public Policy. 2550. หน้า3

ผู้ส่ง : นายสิทธิโชค สุระตโก นิสิตปริญญาโท สาขาการวางผังเมือง รหัสนิสิต 507 41575 25

onaroon กล่าวว่า...

กุลธน ธนาพงศธร ได้นิยามความหมายของนโยบายสาธารณะไว้ว่า “นโยบายสาธารณะเป็นแนวทางกว้างๆที่รัฐบาลของประเทศหนึ่งๆได้กำหนดขึ้นเป็นโครงการ แผนการหรือกำหนดเอาไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นหนทางชี้นำให้มีการปฏิบัติต่างๆตามมา ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้”
Clarke Cochran ได้นิยามความหมายของนโยบายสาธารณะไว้ว่า “ขั้นตอนการปฏิบัติที่เกิดขึ้นโดยเจตนา เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของหน่วยงาน หรือบุคลากรของรัฐ ในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะชน
สิ่งที่น่าสนใจจากนิยามความหมายนโยบายสาธารณะของทั้งสองนิยามนี้ ข้าพเจ้าคิดว่ามีความสอดคล้องกับสิ่งที่ประเทศเป็นอยู่ตอนนี้ คือจะมีนโยบายที่กำหนดขึ้นมาเป็นภาพกว้างๆก่อน และมีลำดับความสำคัญของแต่ละนโยบาย ตัวอย่างเช่น นโยบายสาธารณะที่กำหนดขึ้นในรูปแบบของกฎหมาย ซึ่งก็ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา เป็นต้น นโยบายเหล่านี้ล้วนเป็นนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องยึดถือและนำไปปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด นอกจากนี้ก็ยังมีนโยบายสาธารณะที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดขึ้นปรากฎในรูปของมติคณะรัฐมนตรี นโยบายของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ รวมไปถึงแนวทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางผังเมืองและผังภาคด้วย โดยเนื้อหาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ โดยจะขอยกตัวอย่าง ยุทธศาสตร์จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 9 ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางผังเมืองและผังภาค นั่นก็คือ ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์กว้างๆเพื่อเป็นแนวทาง ให้แต่ละพื้นที่นำไปปรับเป็นแผนเพื่อนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับพื้นที่ของตน ซึ่งจากนิยามของ Clarke Cochran จะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องต้องที่ว่า พื้นที่แต่ละพื้นที่นั้นจะมีปัญหาที่ต่างกัน จึงต้องนำยุทธศาสตร์กว้างๆไปปรับเป็นแผน เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะที่ โดยจะขอยกตัวอย่าง พื้นที่ที่เห็นปัญหาอย่างชัดเจน นั่นก็คือ กรุงเทพมหานคร ที่ประสบปัญหาในหลายๆด้าน แต่จะยกตัวอย่างนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการวางผังเมืองและผังภาค คือ นโยบายพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ คือมีการเร่งพัฒนาให้พื้นที่โดยรอบกรุงเทพฯ มีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้มีคุณภาพและทั่วถึง มีการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ ปฏิรูประบบรถโดยสารประจำทาง เพื่อลดปัญหาจราจรและลดการใช้เชื้อเพลิง ซึ่งนโยบายต่างๆเหล่านี้ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯและส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง

อ้างอิงจาก :
กุลธน ธนาพงศธร.2535.แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ.
Cochran,C.E.1982.American Public Policy:An Introduction.

ผู้ส่ง : น.ส.อรอรุณ สิทธิ นิสิต ป.โท
5074167825

Pongpol กล่าวว่า...

นโยบายสาธารณะ (Public Policy)
คำจำกัดความของนโยบายสาธารณะ (Public Policy) อาจพิจารณาเป็น สองแนวทางดังนี้ ในความหมายที่แคบนโยบายสาธารณะหมายถึง กิจกรรมหรือการกระทำของรัฐบาลและมิติการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ส่วนในความหมายที่กว้างนโยบายสาธารณะหมายถึงแนวทางในการกระทำของรัฐบาลซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นแนวทางกว้างๆที่รัฐบาลได้ทำการตัดสินใจและกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำหรือให้มีกิจกรรมต่างๆเกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ โดยมีการวางแผนการจัดทำโครงการวิธีการบริหารงานหรือกระบวนการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและความต้องการของประชาชนผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง
ทั้งนี้ ขอบเขตของนโยบายสาธารณะนั้นใกล้เคียงกับการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) ซึ่งได้มีวิวัฒนาการจากแนวความคิดสองแนวทาง โดยนโยบายสาธารณะนั้นอาจอยู่ในรูปของรัฐศาสตร์ (Political Science) หรือในรูปแบบของการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) ซึ่งขึ้นอยู่กับการนำนโยบายนั้นไปใช้งาน อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นนโยบายสาธารณะในรูปแบบใดนั้น โดยหลักแล้วคือการบริหารงานภาครัฐให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเหมาะสมกับภาคส่วนที่นโยบายสาธารณะนั้นได้ถูกนำไปใช้งาน
จากคำจำกัดความของนโยบายสาธารณะดังกล่าวนั้น โดยสรุปคือการกำหนดแนวทางการบริหารงานจากภาครัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนโดยส่วนรวม ซึ่งภารกิจด้านการผังเมืองนั้นถือเป็นหนึ่งในนโยบายสาธารณะที่ส่งผลกระทบต่อชนหมู่มากและเป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชน ดังนั้นในการกำหนดนโยบายด้านการผังเมืองนั้น ผู้กำหนดหรือผู้วางผังนอกจากต้องมีความรู้ความสามารถด้านการผังเมืองเป็นอย่างดีแล้วจำเป็นจักต้องมีจริยธรรมในการกำหนดนโยบายสาธารณะนั้นอีกด้วย ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าวิถีชีวิตของประชาชนในทุกสังคมล้วนได้รับผลกระทบจากนโยบายสาธารณะของรัฐทั้งสิ้น ดังนั้นการกำหนดนโยบายการพัฒนาผ่านระบบการวางผังเมืองที่ดีนั้นจะเป็นการดำเนินการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการมองภาพการพัฒนาในระยะยาวและการพัฒนาดังกล่าวนั้นจะไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้หากขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ เมื่อผู้กำหนดนโยบายนั้นได้ศึกษาข้อมูลทางวิชาการอย่างครบถ้วนและนำมากำหนดนโยบายขอบเขตการวางผังอย่างมีจริยธรรมโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมไม่เห็นแก่ประโยชน์ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแล้ว จึงควรนำเสนอแนวความคิดนั้นให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมตั้งแต่การกำหนดนโยบายจึงจะเป็นการส่งเสริมให้นโยบายสาธารณะด้านการผังเมืองนั้นได้รับการยอมรับจากชุมชนในพื้นที่ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการพัฒนาอย่างบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างแท้จริง

อ้างอิง
1. มยุรี อนุมารราชธน, นโยบายสาธารณะ แนวความคิด กระบวนการ และการวิเคราะห์ ,2547: หน้า 6
2. Nicholas Henry, Public Administration and Public affairs 4th Edition, 1986: p.288

ผู้ส่ง :นายปองพล ทองสมจิตร นิสิตปริญญาเอก สาขาการวางแผนภาคและเมือง รหัส 507 44045 25

Chayanee กล่าวว่า...

กิจกรรมทุกประเภทไม่ว่าจะอยู่ในระดับใด เกิดจากหน่วยงานใดล้วนเกิดจากความคิดที่เป็นกรอบที่ว่า ควรจะทำอะไร เมื่อใด ที่ไหน โดยใคร ซึ่งการที่มีกรอบความคิดที่ชัดเจนจะส่งผลให้การกระทำที่ตามมามีทิศทางที่แน่นอน ในส่วนของการดำเนินกิจกรรมของรัฐบาล ความคิดหรือเจตนารมณ์ก็เกิดขึ้นก่อนเช่นเดียวกัน จากนั้นค่อยๆพัฒนาชัดเจนขึ้นกลายเป็นกรอบกำหนดทิศทางและแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่างของรัฐบาล ซึ่งในที่นี้ความหมายกว้างๆก็คือ นโยบายของรัฐบาล หรือ นโยบายสาธารณะ (Public Policy)
นิยามของ นโยบายสาธารณะ คือ แนวทางการดำเนินกิจกรรมของรัฐบาล ซึ่งรวมทั้งกิจกรรมที่ผ่านมาในอดีต กิจกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และกิจกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยส่วนใหญ่จะเป็นแนวทางปฏิบัติที่กำหนดขึ้นเพื่อตอบสนอง แก้ไข ต่อปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น นอกจากนั้นยังรวมถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำ หรือ ไม่กระทำ
ในทางปฏิบัติก็คือ ทางเลือกที่รัฐบาลได้กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา บรรเทาปัญหา และ ป้องกันปัญหาต่างๆตามภาระหน้าที่ของรัฐบาล ออกมาในรูปของนโยบายระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับสูงที่ครอบคลุมกิจกรรมที่กว้างขวาง ไปจนถึงนโยบายระดับล่างที่จะมีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งจะต้องสอดคล้องและสนับสนุนนโยบายระดับสูง โดยนัยนี้ นโยบายระดับล่างจึงมีลักษณะเป็นแผน หรือโครงการภายใต้นโยบายระดับสูงนั่นเอง
การศึกษาในเรื่องนโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นของนักวางแผนภาค เมือง และชุมชนเนื่องจาก ในการวางแผนเพื่อพัฒนาพื้นที่ซึ่งเปรียบเสมือนผู้ที่วางแผนนโยบายในระดับล่าง จำเป็นต้องอาศัยกรอบการดำเนินการจากรัฐบาลซึ่งเป็นนโยบายในระดับสูง รวมถึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานและกิจกรรมที่รัฐบาลมุ่งที่จะปฏิบัติ เพื่อให้โครงการ หรือ แผน ของนักวางแผนที่วางไว้ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และก่อให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่


อ้างอิง
1. ศุภชัย ยาวะประภาษ.”นโยบายสาธารณะ”.พิมพ์ครั้งที่6.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพ ,2548.
2. James E. Anderson.”PUBLIC POLICY MAKING An Introduction”.Second Edition.USA ,1994.


ผู้ส่ง ชญาณี จริงจิตร นิสิตปริญญาโท
5074111625

Sorasak C. กล่าวว่า...

ความจำกัดความของนโยบายสาธารณะ :

บรรดาการตัดสินใจอย่างสัมฤทธิผลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ที่สังคมจะเข้าดำเนินการยินยอมอนุญาตหรือที่จะห้ามมิให้กระทำ ซึ่งการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายต่างๆนั้น อาจแสดงออกได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น ในรูปของคำแถลงการณ์ ตัวบทกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ หรือคำพิพากษา เป็นต้น ซึ่งไม่ว่านโยบายหนึ่งๆ จะแสดงออกมาในรูปแบบอย่างใดก็ตาม ต่างก็มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจก่อนล่วงหน้า และในการประกาศให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจก่อนล่วงหน้านี้ สิ่งที่มีความสำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ จะต้องประกาศให้ทราบถึงรายละเอียดของนโยบายอย่างชัดเจนถึงสิ่งที่ประชาชนจะต้องปฏิบัติตามนโยบายนั้นในอนาคต

ที่มา : Lynton K. Caldwell.Environment : A Challenge in Modern Society. New York : Doubleday, 1970, p. 1.

กิจกรรมทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นระดับใด ในหน่วยงานใดล้วนมีกำเนิดมาจากความคิดอันเป็นกรอบนำทางว่า ควรจะทำอะไร เมื่อใด ที่ไหน โดยใคร และอย่างไรหากปราศจากความคิดที่ชัดเจน การกระทำที่ตามมาคงปราศจากทิศทางที่แน่นอนชัดเจนในการดำเนินกิจกรรมของรัฐบาล ความคิดหรือเจตนารมณ์ก็เกิดขึ้นเช่นก่อนเดียวกัน จากนั้นค่อยๆพัฒนาชัดเจนขึ้นกลายเป็นกรอบกำหนดทิศทางและแนวการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของรัฐบาล ซึ่งในความหมายกว้างๆ ก็คือ นโยบายรัฐบาล หรือ นโยบายสาธารณะนั่นเอง

ที่มา : ศุภชัย ยาวะประภาษ. นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550. หน้า 1

ทั้งสองคำจำกัดเริ่มต้นที่การนำความคิดมาเป็นกรอบในการวางแนวทางการกำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆ โดยการตัดสินใจของรัฐบาล ที่มีความชัดเจนในระดับหนึ่ง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ต่างจากแนวทางการกำหนดนโยบายสาธารณะอื่นๆ ที่มักจะใช้กิจกรรมหรือการกระทำมาเป็นตัวกำหนดแนวทาง

นโยบายสาธารณะในกลุ่มความหมายนี้เกี่ยวข้องกับการวางผังเมือง โดยการตัดสินใจในการวางผังเมืองแต่ละครั้งนั้น รัฐบาลควรจะตัดสินใจอย่างรอบคอบ และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีส่วนได้เสียในการวางผังเมืองนั้นๆ ทำให้การวางแผนเป็นไปอย่างมีแนวทางและรายละเอียดที่ชัดเจน ส่งผลให้รัฐบาลบรรลุวัตถุประสงค์และประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่เกิดการยอมรับได้ง่ายขึ้น

ผู้ส่ง : นายสรศักดิ์ ชิตชลธาร รหัสนิสิต 5074156925

wanchai กล่าวว่า...

้คำจำกัดความ “นโยบายสารธารณะ” หมายถึงการแจกแจงคุณค่าต่างๆ อย่างถูกต้องตามกฎหมายให้แก่สังคมโดยส่วนรวม บุคคลและองค์การที่สามารถใช้อำนาจดังกล่าวได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายได้แก่ รัฐบาล และหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล ดังนั้น การกระทำต่างๆ ของรัฐบาลไม่ว่าด้านใด ย่อมก่อให้เกิดผลในการแจกแจงคุณต่างๆ ของสังคมนั้นๆ
นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่รัฐเป็นผู้ออกหรือกำหนดโดยเพื่อออกมาแล้วจะส่งผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ นโยบายสาธารณะมีความเกี่ยวข้องกับผังเมืองอย่างมีนัย เนื่องจากในประเทศไทยทั้งนโยบายสาธารณะและผังเมืองเป็นสิ่งที่ออกมาโดยรัฐ โดยนโยบายสาธารณะจะเป็นแนวทางกว้างๆ เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้น ส่วนแผนเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายสาธารณะ ในการกำหนดนโยบายสาธารณะมักมีผลต่อผังเมืองอยู่เสมอไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ยกตัวอย่างเช่น นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับการสร้างรถไฟฟ้าก็จะส่งผลโดยตรงกับผังเมืองทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินในเส้นทางที่รถไฟฟ้าตัดผ่านเปลี่ยนไปจากเดิม ผู้ได้ประโยชน์อาจเป็นผู้ที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าหรือบริเวณใกล้เคียง ในเรื่องของนโยบายสาธารณะนั่นผู้ออกนโยบายนั้นแม้ว่าโดยหลักแล้วเป็นการทำเพื่อการแจกแจงคุณค่าไปสู่สังคม คนส่วนใหญ่แต่ในความเป็นจริงแล้วการออกนโยบายสาธารณะเป็นการออกโดยบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งแม้จะเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกผ่านกระบวนการเลือกตั้งเข้ามา แต่การออกนโยบายสาธารณะควรจะต้องมีการฟังเสียงของประชาชนเพื่อให้นโยบายที่รัฐออกมาเพื่อเป็นแนวทางในการบังคับหรือปฏิบัติตามจะส่งผลต่อคนในสังคม การที่นโยบายสาธารณะจะประสบความสำเร็จต้องมาจากการยอมรับของประชาชน
นโยบายสาธารณะเมื่อมีการนำมาแปลงเป็นแผนงานหรือโครงการแล้วล้วนแต่ออกมาโดยองค์กรของรัฐเป็นผู้นำนโยบายนั้นไปปฏิบัติ เช่น กระทรวง ทบวง กรม สำนัก เทศบาล ดังนั้น อาจมีการบิดเบือนหรือคอร์รัปชั่นจากผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจในการนำนโยบายสาธารณะมาแปลงเป็นโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อผู้มีอำนาจในองค์กรนั้นๆ ได้ ถึงแม้ว่านักวางแผนได้เขียนแผนออกมาดีอย่างไรแต่ในกระบวนการนำแผนไปใช้นั้นจะมีองค์กรหรือผู้มีอำนาจในองค์กรต่างๆ นี้จะมีอิทธิพลต่อการนำแผนนั้นไปปฏิบัติหากขัดต่อผลประโยชน์กับผู้มีอำนาจแผนนั้นก็จะไม่ถูกนำมาใช้ แต่ถ้าแผนมีทิศทางเดียวกันกับผู้มีอำนาจก็จะทำให้แผนนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถทำได้ตามแผนที่เขียนออกมา การทำความเข้าใจในเรื่องขององค์กรทางการเมืองต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะแลแผนจะทำให้นักวางแผนสามารถผลักดันทำให้แผนหรือนโยบายต่างๆ ที่เขียนขึ้นสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง บางครั้งการวางแผนและนโยบายสาธารณะอาจไม่ได้ต้องการให้กลุ่มบุคคลใดๆ มาเขียนขึ้นแต่เป็นการต่อรองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการออกกฎต่างๆ เพื่อให้ผลของนโยบายสาธารณะและแผนประสบผลสำเร็จ
ผู้ส่ง : นาย วันชัย ศักดิ์พงศธร นิสิตปริญญาโท
สาขาการวางแผนภาค ID : 507 41500 25
อ้างอิง : มยุรี อนุมานราชธน ,2549
นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ
Easton, D. (1953). The Political System. New York: Knopf.

pattamaporn.w กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
pattamaporn.w กล่าวว่า...

นโยบายสาธารณะ (Public Policy)
คำจำกัดความของนโยบายสาธารณะ คือ อะไรก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะทำหรือไม่ทำ อาจกล่าวได้ว่านโยบายสาธารณะเป็นนโยบายที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของ ที่ได้รับการนำไปปฏิบัติและบังคับใช้โดยสถาบันของรัฐบาล เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนในประเทศ โดยนโยบายสาธารณะจะเกี่ยวข้องกับการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายหรือมีเป้าหมาย นั่นคือได้รับการออกแบบมาเพื่อบรรลุเป้าหมายที่เจาะจงหรือเพื่อทำให้ได้ผลที่แน่ชัด
ทั้งนี้นโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการวางแผนภาคและเมือง กล่าวคือในการวางแผนภาคและเมืองจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อให้การวางแผนนำไปสู่การปฏิบัติและเห็นผลชัดเจนในทางพื้นที่ นอกจากนี้ยังเพื่อให้การวางแผนพัฒนาพื้นที่นั้นสอดคล้องกับนโยบายพัฒนาประเทศด้านอื่นๆของรัฐบาล อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันและก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งสิ่งสำคัญที่นักวางแผนภาคและเมืองไม่ควรมองข้ามในการดำเนินการกำหนดนโยบายสาธารณะคือ ควรให้ประชาชนในพื้นที่นั้นๆหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย เพื่อให้การปฏิบัติจากนโยบายนั้นสอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ อันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์แก่คนในพื้นที่อย่างแท้จริง
อ้างอิง:
แก้วคำ ไกรสรพงษ์. หลักนโยบายสาธารณะยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
Gerston, Larry N. Public policy making: process and principles. New York: M.E. Sharpe.1997.
ผู้ส่ง: น.ส. ปัทมพร วงศ์วิริยะ นิสิตปริญญาโท สาขาการวางแผนภาค รหัสนิสิต 507 41290 25

prasong กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
prasong กล่าวว่า...

ความหมายเกี่ยวกับนโยบายสาธรณะ
โดยประสงค์ จารุรัตนพงศ์
นิสิตภาควิชการวางแผนภาคและเมือง ระดับปริญญาโท ชั้นปีที2

ในการวางแผนการพัฒนาเมือง สิ่งหนึ่งที่ควรทราบเพื่อการพัฒนาเมืองได้รับการนำไปปฏิบัติ คือ การศึกษานโยบายสาธารณะ เพราะนโยบายสาธารณะจะเป็นสิ่งที่กำหนดการพัฒนาเมือง ซึ่งจะมีผลต่อประชาชนทั่วไป ถ้าหากทราบถึงความเป็นมาและขั้นตอนของนโยบายสาธารณะแล้ว จะทำให้การพัฒนาเมืองมีประสิทธิ์ภาพมากขึ้น

สิ่งแรกที่เราควรจะทราบ คือ ความหมายของนโยบายสาธารณะ เพราะจะทำให้เราได้ทำความรู้จักในเบื้องต้นได้ โดยที่ผ่านมาก็มีนักวิชาการได้เสนอทฤษฏีเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะไว้หลายท่าน และยังมีความหลากหลายแตกต่างกัน

ณ ที่นี้ขอเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับความหมายของนโยบายสาธารณะที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาแล้วสามารถทำความเข้าใจได้มาสองความหมาย จากผู้เชี่ยวชาญสองท่านดังต่อไปนี้

แนวคิดแรกเป็นของ Carl Joachim Friedrich ( 1963: 70) เป็นนักทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ชาวเยอรมัน-อเมริกัน ได้ให้ความหมายไว้ว่า นโยบายสาธารณะคือ ชุดของข้อเสนอเกี่ยวกับการกระทำของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐบาล ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ประกอบไปด้วยปัญหา อุปสรรค และโอกาส ซึ่งนโยบายถูกนำเสนอเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของประชาชน โดยมุ่งที่จะกระทำให้บรรลุเป้าหมาย หรือกระทำให้วัตถุประสงค์ปรากฏจริง นอกจากนี้ นโยบายสาธารณะจะต้องประกอบด้วยแนวความคิดที่สำคัญเกี่ยวกับเป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายของสิ่งที่รัฐบาลกระทำ รวมทั้งกลุ่มเป้าหมาย จากแนวความคิดนี้จะทำให้เราทราบถึงสาเหตุของการเกิดนโยบายบุคคลที่มีบทบาทในการกำหนด อีกทั้งองค์ประกอบของนโยบาย

แนวคิดที่ 2 เป็นความหมายของ มยุรี อนุมานราชธน ( 2547: 6) ปัจจุบันเป็นอาจารย์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ความหมายไว้ในสองทางคือ “ในความหมายที่แคบ นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรม/การกระทำของรัฐบาลและมิติการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นแนวทางกว้างๆ ที่รัฐบาลได้ทำการตัดสินใจเลือกและกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรม/การกระทำต่างๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทำโครงการ วิธีการบริหารงานหรือกระบวนการดำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และความต้องการของประชาชน/ผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง”

จากทั้งสองแนวคิดสามารถสรุปความหมายของนโยบายสาธารณะ คือ การกระทำของรัฐบาล ที่พิจารณาถังปัญหา อุปสรรค และโอกาส เพื่อประโยชน์ในการแก้ปัญหาของประชาชน โดยมีแนวทางเพื่อใช้ในการตัดสินใจในการทำกิจกรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยมีการวางแผนงานเพื่อใช้ในการจัดทำโครงการอย่างเป็นกระบวนการ ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเมือง ที่จะต้องอาศัยการวางผังเมืองที่จะใช้ในการชี้นำและวางแผนการพัฒนาเมือง ที่จะต้องมีการวางแผนงานและโครงการไว้เป็นระยะๆ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน

หนังสืออ้างอิง
มยุรี อนุมานราชธน, นโยบาย: แนวความคิดกระบวนการ และการวิเคราะห์, กรุงเทพฯ: คะนึงนิจการพิมพ์, 2547.

Friedrich, Carl Joachim, Public policy, Cambridge, Mass : Graduat School of Public Administration, 1963.

saochao กล่าวว่า...

นโยบายสาธารณะ (Public Policy) หมายถึง การตัดสินใจของรัฐบาลในการเลือกแนวทางที่ต้องการ เพื่อจะได้นำมาใช้เป็นกรอบในการดำเนินกิจกรรมของรัฐบาล โดยมีความมุ่งหวังที่จะแก้ไขปัญหา ป้องกันปัญหา รวมทั้งให้เกิดสิ่งที่พึงประสงค์ในสังคม

นโยบายสาธารณะ จะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของรัฐ และเป็นเอกสารที่มีผลตามกฎหมาย ซึ่งเมื่อประกาศออกมาแล้ว ประชาชนมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตาม นโยบายสาธารณะจะต้องมีความสำคัญในแง่ที่ทำให้รัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาของประเทศ หรือสามารถบริหารประเทศได้อย่างมีทิศทาง นอกจากนี้ นโยบายสาธารณะยังเป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม และสร้างความเสมอภาคให้แก่ประชาชน

ในฐานะนักวางแผน นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากนโยบายจะเป็นตัวกำหนดทิศทางหรือกรอบในการวางแผน โดยนักวางแผนจะวางแผนในเชิงพื้นที่ซึ่งจะต้องให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินการของรัฐบาล หรืออาจกล่าวได้ว่า แผน ก็คือ การแปลงนโยบายที่เป็นนามธรรม ให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อจะนำไปสู่ขั้นตอนในการปฏิบัติต่อไป การกำหนดนโยบายในการวางแผนที่ดี ควรให้ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นผู้ที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติ เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นเมื่อนำแผนไปปฏิบัติ

อ้างอิง :
ธัญวัฒน์ รัตนสัค. “นโยบายสาธารณะ”. คะนึงนิจการพิมพ์,2546.
B.GUY PETERS. “AMECAN PUBLIC POLICY”. New York.

ผู้ส่ง เสาร์เช้า ช้างกลาง นิสิตปริญญาโท
สาขาการวางแผนภาค
รหัสนิสิต 507 41655 25

Unknown กล่าวว่า...

• นโยบายสาธารณะ (Public Policy) เป็นแนวทางการดำเนินกิจกรรมของรัฐบาล ซึ่งรวมทั้งกิจกรรมที่ผ่านมาในอดีต กิจกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน และกิจกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
• นโยบายสาธารณะ (Public Policy) เป็นแนวทางปฏิบัติที่กำหนดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือ แนวทางที่รัฐบาล หรือองค์กรของรัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหานั่นเอง

จากนิยามความหมายของทั้งสองท่าน จะเห็นได้ว่าเป็นการกำหนดนโยบายจากรัฐมาสู่ประชาชน ซึ่งการจะทำให้นโยบายประสบผลสำเร็จก็ต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกๆฝ่าย เราในฐานะนักผังเมืองจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจนโยบายสาธารณะอย่างถ่องแท้ในทุกๆระดับ ตั้งแต่ระดับนโยบายที่รัฐส่งมาถึงเรา แล้วเรารับเอานโยบายนั้นมาเป็นแนวทางในการทำงาน เพราะเราเป็นผู้นำนโยบายมาปฏิบัติต่อประชาชน เพื่อจะได้วางแผนได้รอบคอบรัดกุม เข้าใจถึงปัญหา สามารถวางแผนวิเคราะห์ ประเมินผลกระทบจนถึงวางแผนพัฒนาพื้นที่นั้นๆให้ตรงตามศักยภาพ จะได้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่ต่อๆไป

อ้างอิง :
1. ศุภชัย ยาวะประภาษ. นโยบายสาธารณะ. 2538. หน้า 3.
2. James E. Anderson. Public Policymaking An Introduction. New York : Holt,Winstone & Rinehart. 1984. p. 3.

ผู้ส่ง :
นางสาวธัญมน สินชัยกิจ นิสิตปริญญาโท สาขาการวางผังเมือง รหัส 507 41168 25

Unknown กล่าวว่า...

(1) นโยบายสาธารณะ คือ กิจกรรมที่รัฐบาลกระทำหรือไม่กระทำ ซึ่งมีผลกระทบต่อความกินดีอยู่ดีของประชาชน เช่น นโยบายควบคุมกำลังอาวุธ นโยบายกำลังทหาร นโยบายควบคุมมลภาวะในอากาศ นโยบายสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น นโยบายสาธารณะมีเนื้อหาและผลของนโยบายที่ตามมาในการกำหนดชีวิตและอนาคตของประชาชน
(2) นโยบายสาธารณะ คือ ความคิดของรัฐบาลที่ว่าจะทำอะไรหรือไม่ อย่างใด เพียงใด เมื่อใด โดยน่าจะมีองค์ประกอบ 3 ประการคือ
• การกำหนดเป้าหมายของสิ่งที่ต้องการกระทำ
• การกำหนดแนวทางใหม่ๆ
• การกำหนการสนับสนุนต่างๆ
เนื่องจากนโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่รัฐใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา หรือเป็นแนวทางในการเลือกตัดสินใจ เพื่อให้บรรลุวัตถุปะสงค์ที่กำหนดไว้ คือเมื่อรัฐได้กำหนดนโยบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ข้าราชการหรือหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะนำเอานโยบายนั้นไปปฏิบัติ โดยทำการกำหนดแผนงานหรือโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายที่รัฐได้กำหนดเอาไว้ ซึ่งผลของนโยบายต่างๆ นั้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัฐโดยตรง
ในฐานะที่เป็นนักผังเมืองนั้น การกำหนดหรือปฏิบัติตามนโยบายใดๆ ควรจะต้องคำนึงถึงผลกระทบของนโยบายที่มีต่อประชาชน โดยการทำการศึกษาทำความเข้าใจทั้งตัวนโยบายที่ได้รับมอบหมาย และลักษณะสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่จะนำเอานโยบายไปปฏิบัติ เพื่อให้สามารถนำเอานโยบายไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างสูงสุด
อ้างอิงจาก
ศุภชัย ยาวประภาษ(1995)นโยบายสาธารณะ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ
Koening,L. (1986)An Introduction to public Policy. Englewood Cliffs, New Jersey

นายอรรฆพล ห่อมณี 5074166125 นิสิตปริญญาโท สาขาการวางผังเมือง

uthai กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ปรัญญู กล่าวว่า...

อภิปราย ความหมาย ของนโยบายสาธารณะ
มยุรี อนุมานราชธน ปี พ.ศ. 2547 “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางในการกระทำของรัฐบาล ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นแนวทางกว้างๆ ที่รัฐได้ทำการตัดสินใจเลือกและกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมหรือการกระทำต่างๆเกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทำโครงการ วิธีการบริหารงานหรือกระบวนการดำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง และความต้องการของประชาชน ผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง”
Heinz Eulau and Kennett Prewitt ปี ค.ศ.1973 “นโยบายสาธารณะ หมายถึง การตัดสินใจที่มีจุดยืนของรัฐบาล ซึ่งจะต้องมีการกระทำที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมที่มีพันธะผูกพันในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง”
เป็นการพูดถึงนโยบายสาธารณะในเชิงครอบคลุมสิ่งที่เป็นแบบแผน การจัดทำแผนนโยบายในเชิงการนำไปใช้บางครั้งอาจจะมีปัญหาซึ่งไม่เป็นไปตามแบบแผนการดำเนินงานเสมอไป การตัดสินใจที่แน่นอน เด็ดขาด มีการกระทำอันเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง มีความสม่ำเสมอ ซึ่งตามระบอบประชาธิปไตย รัฐจะต้องมีความชัดเจนในการกำหนดนโยบาย การที่มีความต่อเนื่องและผูกพันในการกำหนดนโยบายจะมีประโยชน์ทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายที่ถูกกำหนดใช้นโยบาย ยกตัวอย่าง ในสมัยปี 2544 ที่รัฐบาลมีการกำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆที่จับต้องและชัดเจน เช่น นโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรค ที่ค่อนข้างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ซึ่งทำให้นโยบายนี้ดำเนินการต่อเนื่องและประสบความสำเร็จจนทำให้บรรลุเป้าหมายที่ทางรัฐบาลได้กำหนดไว้ ในปัจจุบันก็ยังได้ดำเนินการอยู่ในหลายรัฐบาล ซึ่งเมื่อเกิดนโยบายในลักษณะที่ผูกมัดความรู้สึกให้ประชาชน ทำให้พรรคการเมืองที่มีการนำนโยบายที่เรียกว่า ประชานิยม ไปใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งครั้งต่อไป เป็นการวัดประสิทธิภาพนโยบายสาธารณะที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด ในทางกลับกันคำว่าจุดยืน หมายถึงการที่มีแนวทางแน่วแน่ในการดำเนินงาน หากนโยบายสาธารณะขาดจุดยืน คือมีการเปลี่ยนแปลงตามรูปแบบ เวลา สถานที่ อาจจะส่งผลดีและผลเสียได้ ผลดีของการเปลี่ยนแปลงคือ สามารถนำไประยุกต์ใช้ได้ในหลายๆพื้นที่ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่นั้นๆ ณ เวลานั้นๆ ผลเสียคือในความหมายของนโยบายสาธารณะจำเป็นที่จะต้องครอบคลุมให้กว้างเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างนโยบายทำให้เกิดความขัดแย้งของนโยบายในแต่ละพื้นที่ที่ได้ดำเนินการไป ฉะนั้นรูปแบบของนโยบายสาธารณะจะต้องประยูกต์ใช้ให้เหมาะสมและไม่ขัดแย้งกันในแต่ละพื้นที่ มีความชัดเจนแน่นอนและมีระเบียบที่สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ส่งผลเสียต่อประชาชน โดยทางรัฐเป็นผู้กำหนดข้อตกลงต่างๆซึ่งหน่วยงานราชการได้ดำเนินการลงไปแล้วแต่ก็ยังมีการนำไปใช้ได้ไม่ครอบคลุมหรือไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ที่ได้กำหนด เนื่องจากบางครั้งเมื่อกำเนิดนโยบายขึ้นมาส่งต่อในหน่วยงาน จะมีการตรวจสอบจากหลายๆองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาคประชาชน องค์กรเอกชนหรือองค์กรรัฐต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินงาน เป้าหมายที่จะนำไปใช้มีการเปลี่ยนแปลง ประชาชนผู้รับนโยบายได้รับนโยบายไม่ตรงกับความต้องการในขณะนั้น การกำหนดนโยบายสาธารณะด้วยการจัดทำโครงการจะมีผู้ได้และผู้เสียประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจริงๆแล้วคำว่าสาธารณะจะเป็นที่จะต้องสำรวจความคิดความเห็นของประชาชนผู้ที่ได้รับผลของนโยบาย มิใช่การกำหนดเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงเท่านั้น ในการวางแผนภาคและเมืองการมีนโยบายสาธารณะจำเป็นอย่างยิ่งในเชิงการบริหารเพราะเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ใช้นำไปสู่กิจกรรมหรือโครงการที่รัฐต้องการให้ประชาชนในส่วนของภาคหรือเมืองนั้นได้รับผลอย่างเป็นรูปธรรม จับต้องได้ การที่ประชาชนจะได้รับผลจากนโยบายอย่างมีประโยชน์สูงสุดจำเป็นที่จะต้องให้ผู้รับนโยบายมีส่วนร่วมสำคัญในการออกแบบนโยบายเพื่อให้ตรงตามจุดประสงค์และประสบผลสำเร็จตามที่รัฐได้ออกแบบนโยบายเอาไว้ มิฉะนั้นนโยบายสาธารณะก็ไม่ต่างอะไรจากข้อกำหนดที่มีรูปแบบเชิงเผด็จการ
อ้างอิง
มยุรี อนุมานราชธน, 2547.นโยบายสาธารณะ : แนวความคิดกระบวนการ และการวิเคราะห์.
กรุงเทพมหานคร.
Eulau H. And Kenneth P. (1973).Labyrinths of Democracy.Indianapolis : Bobbs Merrill.

ปรัญู เฟื่องเพียร 5074128325

uthai กล่าวว่า...

คำว่า “นโยบายสาธารณะ” หรือ Public Policy มีความหมายที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน นักวิชาการในแต่ละสาขาต่างมีความเห็นเกี่ยวกับความหมายของนโยบายสาธารณะ แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงมีผู้ให้ความหมาย “นโยบายสาธารณะ” ไว้หลายแนว อาทิ
- James E.Anderson ใน Public Policy-Making, 1979. กล่าวว่า
“นโยบายสาธารณะหมายถึงการกระทำบางอย่างมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาหรือเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยจะมีการนำไปปฏิบัติโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลต่าง ๆ” (A purposive course of action followed by an actor or set of actors in dealing with a problem or matter of Concern)
- อมร รักษาสัตย์ ใน การพัฒนานโยบาย, 2520 กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ” คือ
ความคิดของรัฐบาลที่ว่าจะทำอะไรหรือไม่ อย่างใด เพียงใด เมื่อใด โดยน่าจะมีองค์ประกอบ 3 ประการคือ (1) การกำหนดเป้าหมายของสิ่งที่ต้องการกระทำ (2) การกำหนดแนวทางใหม่ ๆ และ (3) การกำหนดการสนับสนุนต่าง ๆ
- Theodore Lowi, 1964 กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ คือ รูปแบบของการแก้ไขและจัดการปัญหา ความขัดแย้งทางการเมืองอย่างมีเหตุผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และสามารถจัดลำดับความสำคัญของการควบคุมทางเศรษฐกิจ และศีลธรรมในสังคม

การศึกษานโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นสำหรับเกือบทุกสาขาวิชาไม่ควรจำกัดอยู่แค่ผู้ศึกษาทางรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายสาธารณะเป็นแนวทางการดำเนินกิจกรรมของรัฐบาล ซึ่งเปรียบเสมือนแผนปฎิบัติงานของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้เราทราบการบริหารงานของรัฐบาลมากยิ่งขึ้นหากขาดความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมที่รัฐบาลมุ่งปฎิบัติย่อมไม่เกิดผลประโยชน์ต่อสายงานของภาควิชาที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการวางผังภาคและเมืองซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทางกายภาพ จะต้องมีความรอบรู้หลายด้านทั้งทางด้านการเมืองการปกครอง กายภาพ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน ประกอบในการวางผัง โดยเฉพาะด้านการเมืองการปกครองก็จะมีนโยบายลงมาให้หน่วยงานในภาครัฐมาปฎิบัติ ฉะนั้นนักวางแผนจะต้องเข้าใจในตัวนโยบายของรัฐว่ามีวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างไร โดยสร้างความเข้าใจกับนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะได้นำแผนไปปฎิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายนั้นๆ

ที่มา : รศ. อนงค์ทิพย์ เอกแสงศรี. แนวความคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณ.2548
: Fred m Frohock. Public Policy Scope and Logic
ผู้ส่ง : อุทัย ชาติเผือก นิสิตปริญญาโท สาขาการวางแผนภาคและเมือง 5074171225

Damrong Siammai กล่าวว่า...

นโยบายสาธารณะ: ความหมาย ทัศนะ และความเกี่ยวข้องกับการวางผังเมือง
โดย นายดำรง เสียมไหม
5074410225

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ได้สรุปความหมายของคำว่า “นโยบายสาธารณะ”โดยมีที่มาจากการให้ความหมายของนักคิดต่างๆ ของฟากตะวันตกซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ นโยบายสาธารณะ: แนวคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ (2541) ในหน้า 43 ไว้ว่า นโยบายสาธารณะคือ “กิจกรรมของรัฐบาลที่เลือกกระทำหรือไม่กระทำก็โดยมุ่งถึงค่านิยมและผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยเป็นข้อบัญญัติที่ชอบด้วยกฏหมาย” นั่นคือมุมมองในความหมายจากนักคิดของคนไทย ในส่วนความหมายของนักคิดต่างประเทศ ขอยกตัวอย่างของนาย Peter B. Guy ในหนังสือ American Public Policy (1986) ในหน้า 4 ได้ให้ความหมายที่เข้าใจได้ง่ายของคำว่า Public Policy ดังนี้ Public Policy is the sum of activities of government, whether activity directly or through agents, as it has an influence on the live of citizens. ตามความหมายในภาคภาษาไทยที่กล่าวถึงได้ยึดถือเอาความชอบธรรมที่จะเกิดขึ้นกับสังคมส่วนรวมเป็นหลักและตอกย้ำถึงการที่จะต้องมีกฏหมายมารับรองในการกำหนดนโยบายสาธารณะด้วย เช่น นโยบายด้านสาธารณสุข นโยบายสวัสดิการสังคม นโยบายการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้น อันแสดงถึงการอยู่ดีกินดีของประชาชนและการไม่ถูกริดรอนสิทธิที่พึงมีพึงได้ของประชาชน ขณะเดียวกันรัฐบาลอาจไม่เลือกกำหนดนโยบายสาธารณะขึ้นมาก็ได้ซึ่งถือได้ว่าเป็นนโยบายสาธารณะอย่างหนึ่งด้วยเช่นกันและอาจส่งผลกระทบในทางบวกและลบได้ เช่น นโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหาร แต่เปลี่ยนเป็นการรับสมัครแทน การไม่ใช้นโยบายการประกันการว่างงาน ทำให้คนตกงานไม่ได้รับเงินชดเชยจากรัฐบาล เป็นต้น สำหรับการให้ความหมายของนาย Peter B. Guy (1986) เป็นการให้ความหมายของคำว่า Public policy ที่เข้าใจง่าย สื่อถึงทุกกิจการงานที่รัฐบาลกำหนดขึ้นและเสนอไปยังประชาชนหรือพลเมืองของรัฐทั้งในทางตรงและทางอ้อมโดยการผ่านตัวแทน และนโยบายเหล่านั้นจะส่งผลต่อวิถีชีวิตของพลเมืองรัฐ แสดงให้เห็นถึงการที่ประชาชนต้องยอมรับนโยบายนั้นที่มีผลกระทบทั้งทางบวกและลบ และอาจกล่าวได้ว่าทั้งรัฐบาลและพลเมืองจะใช้สิทธิและหน้าที่ของพลเมืองในการกำหนดนโยบายสาธารณะและการปฏิบัติตาม การกำหนดกฏระเบียบปฏิบัติการจัดการวางผังเมืองนับเป็นนโยบายสาธารณะเช่นกัน โดยพลเมืองที่อยู่ในอาณาบริเวณที่ชัดเจน เช่น เทศบาลในระดับต่างๆ พื้นที่เขตปกครองพิเศษ หรือพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์ เป็นต้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือพลเมืองจะต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบในการก่อสร้างอาคารหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่ได้กำหนดไว้ในกฏหมายผังเมือง ในแง่หนึ่งจะเกิดผลดีต่อชุมชนเมืองคือมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ มีการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม เป็นต้น แต่ในอีกด้านหนึ่งจะมีผลกระทบทางลบต่อชุมชนบ้าง เช่น การเวณคืนที่ดิน การเสียโอกาสทางการค้า และอาจจะเกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ แต่ปัจจุบันการกำหนดนโยบายการวางผังเมืองได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ถึงแม้ว่าประชาชนยังไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในขั้นตอนกระบวนการวางแผนได้ เพราะมีข้อจำกัดในด้านความรู้ ซึ่งประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้ในระดับการรับรู้ วิจารณ์แผน เสนอแนะ และท้วงทิงให้แก้ไขได้ภายใน 90 วัน จะเห็นว่าการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการวางผังเมืองโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนของไทยเราน่าจะมีทิศทางที่ดี โปร่งใส และเกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติมากขึ้น และคาดหวังว่าประชาชนจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนการวางแผนได้อย่างแท้จริง

pannavij กล่าวว่า...

รูปหน้าปกนี่อาจารย์หรือฟูโกต์เนี่ย