วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ของไทยคืออะไร

16 ความคิดเห็น:

Damrong Siammai กล่าวว่า...

ผลประโยชน์สาธารณะของไทยคืออะไร
โดย นายดำรง เสียมไหม
5074410225

ผลประโยชน์สาธารณะของไทยอาจจะไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจนมากนัก ถ้าหากยึดถือตามความหมายของคำว่า “ผลประโยชน์สาธารณะ” ตามตัวอักษร นั่นหมายถึงผลประโยชนที่ภาครัฐดำเนินตามนโยบายตกถึงมือประชาชนอย่างแท้จริง เพราะสังคมไทยยังไม่สามารถหลีกหนีจากคำว่าระบบอุปถัมถ์ การเล่นพรรคเล่นพวก หรือกล่าวอีกในหนึ่งการแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายทางการเมืองเข้ามีส่วนการกำหนดนโยบายสาธารณะ และผลประโยชน์จะตกกับฐานเสียงของตนเอง เช่น กรณีของโครงการรถไฟฟ้ากรุงเทพมหานคร (BTS) ที่เกิดความล่าช้าในการก่อสร้างและการบริการ เนื่องจากแนวเส้นรถไฟฟ้าไปอยู่ในพื้นที่ฐานคะแนนเสียงของอีกพรรคตรงข้ามที่เป็นฝ่ายค้านอยู่ในขณะนั้น กรณีนี้ชีให้เห็นว่าผู้กำหนดหรือดำเนินนโยบายการบริการรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ ไม่ได้คำนึงถึงความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในภาพรวมได้ อีกตัวอย่างหนึ่งโครงการสุขภาพดีถ้วนหน้า 30 บาท รักษาทุกโรคที่ดูเหมือนว่าจะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาลต่อประชาชนทั้งประเทศ แต่ในทางปฏิบัติจริงการรักษาที่ไม่ได้มาตรฐาน ยารักษาก็ไม่ได้มาตรฐาน ประสิทธิภาพของโรงพยาบาลระดับอำเภอลดลงอย่างน่าใจหาย เนื่องจากเม็ดเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐลดน้อยลงเพราะรัฐจ่ายให้โรงพยาบาลเป็นรายคนต่อปีซึ่งไม่เพียงพอที่จะบริหารการรักษาพยาบาลให้มีประสิทธิภาพได้ ทำให้หมอไหลเข้าสู่โรงพยาบาลเอกชนมากขึ้น ผลกระทบกจะตกกับประชาชนกลุ่มรากหญ้าที่หลีกหนีไม่พ้นต้องใช้บริการโรงพยาบาลเหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตามนโยบายนี้ประชาชนก็ได้รับประโยชน์มากในแง่ของการเข้าถึงการรักษาบริการจากภาครัฐ เมื่อเทียบกับสมัยก่อนที่คนยากจนไม่สามารถเข้าถึงได้และต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการไข้ ถึงแม้ว่าคุณภาพของการบริการและยารักษาจะไม่เต็มประสิทธิภาพก็ตาม
ดังนั้น จึงจะเห็นว่าผลประโยชน์สาธารณะของไทยจึงอยู่ก้ำกึ่งระหว่างผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายและผู้รับผลประโยชน์สาธารณะในฐานะประชนชนคนหนึ่ง จากจุดนี้เองที่สะท้อนให้เห็นถึงสถานะการเมืองไทยยังอยู่ระหว่างการพัฒนาในทุกระดับ เพราะเราจะพบว่า ความเกี่ยวพันของผลประโยชน์สาธารณะจะตกถึงมือของผู้กำหนดนโยบายไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แทนที่ผลประโยชน์จะตกถึงมือประชาชนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ดังที่เราได้เห็นแล้วจากนโยบายของอดีตรัฐบาลพรรคไทยรักไทยช่วงปี 2544 – 2548 เมื่อประชาชนรู้ทันเล่ห์กลดังกล่าวจึงเกิดการลุกฮือ ต่อต้าน จนเกิดการรัฐประหารในที่สุด แต่ในขณะเดียวกันประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ก็ยังขาดเรื่องจิตสำนึกสาธารณะ สิทธิ และหน้าที่ของตนเองตามกฏหมาย เพราะในบางกรณีประชาชนถูกละเลยการดูแลจาดภาครัฐ เช่น สิทธิที่จะปกป้องทรัพยากร (ป่า ชายฝั่ง แม่น้ำ) ของตนเอง กว่าที่ประชาชนจะได้รับสิทธนั้นได้ต้องมีการเดินขบวนประท้วงเพื่อทวงคืนสิทธิ จนถึงขั้นต้องเสียเลือด เสียเนื้อกันก่อน รัฐจึงยอมมอบสิทธินั้นให้กับชุมชน ทำให้เราพอจะตอบได้ว่าผลประโยชน์สาธารณะของไทยตามความไหมายจะเกิดได้นั้นยังต้องรออีกยาวนาน

pattamaporn.w กล่าวว่า...

ผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ของไทยคืออะไร
การบริหารงานของภาครัฐจำเป็นที่จะต้องที่มีการกำหนดนโยบายสาธารณะอันเป็นนโยบายที่รัฐสร้างขึ้นเพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดผลชัดเจน อันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนในประเทศ อาจกล่าวได้ว่า ผลประโยชน์สูงสุดของรัฐ คือ ผลประโยชน์สาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงซึ่งแตกต่างจากการบริหารงานของภาคเอกชนที่มุ่งผลกำไรที่สูงที่สุดให้กับหน่วยงานของตน
ผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) คือ สิ่งใดก็ตามที่ให้ประโยชน์สุขแก่บุคคลทั้งหลายในสังคม มิใช่สิ่งที่กระทำเพื่อผลประโยชน์แอบแฝงต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนทางการเมือง หรือเพื่อการสนับสนุนผลประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทั้งนี้แนวความคิดเรื่องผลประโยชน์สาธารณะยังส่งเสริมให้เกิดการตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยการกดดันผู้ออกนโยบายให้เปิดใจกว้างจนกว่าจะมีการตัดสินใจ อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างฝ่ายต่างๆภายในสังคมในการเสนอความต้องการเพื่อให้นโยบายตามที่ฝ่ายตนต้องการ เพื่อให้นโยบายที่ออกมานั้นก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
ทั้งนี้จากค่านิยมเรื่องระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย ถึงแม้ประเทศไทยจะมีการยกเลิกระบบอุปถัมภ์อย่างเป็นทางการแต่ระบบอุปถัมภ์ก็ยังไม่หมดไป เพราะเราไม่ได้เปลี่ยนค่านิยม ซึ่งค่านิยมเรื่องระบบอุปถัมภ์ได้ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์สาธารณะของไทย กล่าวคือ ค่านิยมเรื่องระบบอุปถัมภ์ทำให้คนไทยไม่มีการแยกระหว่างส่วนรวมกับส่วนตัว ขาดความผูกพันทางด้านสาธารณะหรือส่วนรวม การบริหารงานของรัฐจึงทำได้ยากเพราะประชาชนให้ความสนใจร่วมมือน้อย นอกจากนี้คนไทยยังขาดสิ่งที่เรียกว่าจิตสาธารณะ(Public mind) และ จิตวิญญาณสาธารณะ(Public spirit) คือการคำนึงถึงส่วนรวมในการที่จะมีส่วนร่วมเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นที่ตั้ง ซึ่งการที่จิตสาธารณะอ่อนแอ ทำให้มีผลตามมาที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะ คือ ทำให้ขาดการคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะ ทำให้สังคมไทยไม่ค่อยมีใครปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ เมื่อเกิดการทับซ้อนของผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องกับผลประโยชน์สาธารณะก็จะนึกถึงและรักษาผลประโยชน์ส่วนตัวก่อน
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าค่านิยมเรื่องระบบอุปถัมภ์ส่งผลอย่างมากต่อผลประโยชน์สาธารณะของไทย ดังนั้นเราทุกคนควรจะร่วมกันปรับเปลี่ยนค่านิยมโดยหันมาคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ร่วมกันปกป้องผลประโยชน์สาธารณะเพื่อให้การพัฒนาประเทศก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนส่วนรวมในประเทศอย่างแท้จริง
ผู้ส่ง: นางสาวปัทมพร วงศ์วิริยะ นิสิตปริญญาโท สาขาการวางแผนภาค 507 41290 25

tapanee กล่าวว่า...

ผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) อาจมีความหมายเหมือนกับคำว่า ผลประโยชน์ชาติ ถือเป็นของส่วนรวม เป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนในประเทศมีส่วนร่วมช่วยกันดูแลรักษา สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามสิทธิที่พึงมี แต่ไม่สามารถครอบครองเป็นของส่วนตัวได้ หากมีใครนำไปเป็นของส่วนตัวจะถือว่าเป็นความผิด ผลประโยชน์สาธารณะจะต้องมีผู้ที่ดูแลรักษา อาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล สถาบัน องค์กรทั้งภาคการเมือง ภาครัฐ(บาล)หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งสามารถบริหารให้มีเพิ่มมากขึ้นหรือหมดไปได้ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้ดูแลจึงต้องมีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรมและจิตสำนึกที่จะคงไว้ซึ่งผลประโยชน์สาธารณะเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยรวม
นางสาวฐปณี รัตนถาวร รหัส 5074403925

vittawat กล่าวว่า...

ผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest)
ในความเป็นจริงแล้ว ผลประโยชน์สาธารณะของไทย นั้นน่าจะหมายถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่พลเมืองในเมือง หรือในประเทศนั้นๆ คือผลประโยชน์โดยส่วนรวม แต่ในความเป็นจริงแล้ว รัฐบาลมักจะคิดถึงประโยชน์ของรัฐบาล ซึ่งก็ถูกกำกับดูแลโดยคนในรัฐบาลมากกว่าจะคิดถึงประโยชน์ของประชาชนโดยทั่วไป อาจจะเป็นเพราะว่าไทยเรานั้นยังติดกับคำว่า ของสาธารณะคือของหลวง ที่จะต้องได้รับการดูแลและจัดการโดยรัฐ โดยผู้มีสิทธิใช้ก็กลายเป็นว่าต้องเป็นพนักงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งๆที่ความเป็นจริงแล้ว เป็นของสาธารณะ ซึ่งประชาชนเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยถ้าหากว่าผลประโยชน์ของสาธารณะ ถูกกับและควบคุมโดยรัฐแล้ว รัฐก็มีหน้าที่ที่จะต้องไม่เป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเป็นรัฐที่มองผลประโยชน์เพื่อประชาชนทุกคนในรัฐ ยกตัวอย่างเช่น การสัมปทานทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ รัฐไม่ควรที่จะให้สัมปทานแก่พวกพ้องของตัวเอง มากกว่าที่จะเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนและประโยชน์ของรัฐ โดยที่รัฐอาจจะรับค่าสัมปทานเพื่อผลประโยชน์ของรัฐก่อน จากนั้นก็นำส่วนนั้นมาเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในรัฐ ซึ่งส่วนนี้ก็อาจจะกลายเป็นผลประโยชน์ของประชาชนได้ เพราะว่าทรัพยากรธรรมชาตินั้น เป็นสมบัติของชาติ ประชาชนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่ก็มีบางครั้งที่รัฐมองผลประโยชน์ของรัฐมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน โดยจัดการสัมปทานทรัพยากรของชาติแก่พวกพ้อง โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน ฉะนั้น ในการจะจัดการบริหารสิ่งใด รัฐก็ควรที่จะมองถึงผลประโยชน์ของประชาชนด้วยว่า ผลประโยชน์ของประชาชน หรือผลประโยชน์สาธารณะนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของผลประโยชน์ของรัฐเช่นกันที่ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์
วิทวัส กิ่งสุวรรณ สาขาการวางผังเมือง รหัส 507 41517 25

ปรัญญู กล่าวว่า...

ผลประโยชน์สาธารณะของไทย
คำว่าผลประโยชน์สาธารณะโดยทั่วไป หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้รับโดยทั่วถึง ตรงความต้องการและเป้าหมายของผู้ที่สร้างนโยบายและผู้รับนโยบาย ปัจจุบันระบบการปกครองโดยใช้ฐานความคิดในโลกมีด้วยกันสองฐานความคิด คือ รัฐที่เน้นปกครองด้วยกฏหมายหรือที่เรียกว่านิติรัฐ และรัฐที่เน้นการปกครองด้วยผลประโยชน์สาธารณะ ปกครองโดยเน้นผลประโยชน์ส่วนรวมและสภาพสังคมโดยผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองมีส่วนร่วมที่แท้จริง
ประเทศไทยในปัจจุบันมีลักษณะการปกครองที่ค่อนข้างก้ำกึ่งระหว่างรูปแบบการปกครองนิติรัฐและการปกครองโดยผลประโยชน์สาธารณะ เนื่องจากระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทยที่ผ่านมามีลักษณะกึ่งประชาธิปไตยและกึ่งการปกครองอำมาตยาธิไตย (ศักดินา) โดยระบบศักดินาที่เป็นรากฐานเก่ามาช้านานยังคงอยู่และมีบทบาทในเชิงการปกครองอยู่ ถึงแม้จะไม่ชัดเจนแต่ก็สามารถใช้ความเป็นวัฒนธรรมเชิงการปกครองในลักษณะความเชื่ออยู่ในสังคมไทย การปกครองโดยรัฐบาลผู้ซึ่งกำหนดนโยบายสาธารณะทำให้ไม่สามารถกำหนดนโยบายได้อย่างชัดเจนหรือเต็มที่ ระบอบศักดินายังคงมีบทบาทในการได้รับหรือเสียผลประโยชน์อยู่ คนชนชั้นสูงยังแทรกแซงระบบการเมือง สุดท้ายผู้เสียผลประโยชน์ในไทยก็คือประชาชนผู้ที่เลือกตั้งอย่างถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย
นอกจากระบอบศักดินาแล้วยังมีกลุ่มนายทุนที่ให้การสนับสนุนพรรคการเมืองแต่ละพรรค หากพรรคการเมืองใดได้เป็นรัฐบาล พรรคการเมืองนั้นจะให้ผลประโยชน์กลับไปสู่กลุ่มนายทุน ส่วนพรรคไหนที่ไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นรัฐบาล กลุ่มนายทุนของพรรคนั้นจะทำการขัดขวางด้วยรูปแบบลักษณะต่างๆ เช่น จัดจ้างม๊อบประท้วง ให้เงินสนับสนุนหรือวางแผนกับฝ่ายค้านทำการยื่นยัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาล เป็นต้น การเมืองไทยเปรียบเสมือนการแข่งขันทางการค้าและกลุ่มผลประโยชน์ ผลของนโยบายสาธารณะในไทยตกอยู่กับกลุ่มนายทุน พรรคการเมือง และชนชั้นสูง ส่วนประชาชนไม่ว่าคนชนชั้นกลางหรือคนชนชั้นล่าง ต่างเปรียบเสมือนหุ่นเชิดที่ต้องทำตามรูปแบบของนโยบายต่างๆหรืออาจจะไม่มีส่วนร่วมสำคัญที่แท้จริง การปกครองด้วยนิติรัฐเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาโดยที่ปกครองด้วยกฏหมาย มีแบบแผนที่ชัดเจน ประชาชนทุกคนต้องอยู่ภายใต้กรอบกฏหมายเดียวกัน ซึ่งในเชิงทฤษฎีอาจจะเป็นอย่างนั้น แต่ในสังคมไทยอาจจะไม่ใช่เสมอไป ผลก็คือ เกิดการละเมิดกฏหมายต่างๆขึ้น เกิดการคอร์รัปชั่น ส่วนการปกครองด้วยผลประโยชน์นโยบายสาธารณะในไทยยังคงเป็นเพียงการปกครองผิวเผิน คือ มีการใช้นโยบายที่เหมือนประชาชนจะเป็นผู้ได้ประโยชน์แต่สุดท้ายก็คือการจัดฉากขึ้นเพื่อหลอกประชาชนหรือประชาชนอาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์โดยเต็มที่ สิ่งที่ทำมาของผลนโยบายสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นเอง หากประเทศไทยยังคงมีรูปแบบการพัฒนาที่ไม่ชัดเจน ยังคงมีการแทรกแซงทางการเมืองจากหลายฝ่าย ผลประโยชน์สาธารณะของไทยก็ยังคงไม่ต่างจากผลของรัฐบาลเผด็จการที่มีรูปแบบการเลือกตั้งเท่านั้นเอง

ปรัญญู เฟื่องเพียร
5074128325

saochao กล่าวว่า...

คำว่า ผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) โดยทั่วไป หมายถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ เนื่องจากการดำเนินนโยบายของรัฐ เป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการส่วนใหญ่ของคนในสังคม แต่สำหรับในประเทศไทย พบว่ามีหลายนโยบายที่มีผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มแอบแฝงอยู่ ดังเช่นในสมัยหนึ่งที่นโยบายสาธารณะเป็นเพียงนโยบายที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเอาใจประชาชนบางกลุ่ม เพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้น ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนรวมในประเทศอย่างแท้จริง เช่น นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ตั้งขึ้นเพื่อเอาใจประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ให้เกิดความรู้สึกว่าได้ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา แต่แท้จริงแล้ว ประสิทธิภาพในการรักษาและคุณภาพของยาก็ลดลงไปด้วย หรือจะเป็นนโยบายกองทุนหมู่บ้าน ที่เมื่อให้เงินไปแล้วก็ไม่ได้มีมาตรการตรวจสอบการใช้เงิน แทนที่จะนำไปลงทุน ชาวบ้านกลับนำเงินนั้นไปจับจ่ายซื้อของฟุ่มเฟือย ทำให้กลายเป็นการสร้างหนี้ให้พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ

หากนโยบายสาธารณะของไทยยังคงถูกแทรกแซงจากผู้อำนาจอยู่เช่นทุกวันนี้ คำว่าผลประโยชน์สาธารณะก็คงเป็นเพียงคำพูดลอยๆที่นำมาใช้หลอกให้ประชาชนตายใจ และยินยอมปฏิบัติตามนโยบายนั้นๆ เพื่อให้คนกลุ่มหนึ่งได้กอบโกยผลประโยชน์ต่อไป

เสาร์เช้า ช้างกลาง
นิสิตปริญญาโท
5074165525

wanchai กล่าวว่า...

ผลประโยชน์สาธารณะ( Public Interest) คือผลที่เกิดจากนโยบายสาธารณะโดยรัฐเป็นผู้ออกนโยบายมาเพื่อทำการแจกแจงคุณค่าให้แก่ประชาชน สังคมโดยส่วนรวม บุคคลและองค์การที่สามารถใช้อำนาจดังกล่าวได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายได้แก่ รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล ดังนั้น การกระทำต่างๆ ของรัฐบาลไม่ว่าด้านใด ย่อมก่อให้เกิดผลในการแจกแจงคุณค่าต่างๆ ของสังคมนั้นๆ โดยในส่วนผลประโยชน์สาธารณะในไทยนั้นเป็นสิ่งที่ถูกบิดเบือนโดยกลุ่มผู้มีอำนาจให้ดูเหมือนนโยบายสาธารณะทำเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ เพราะนโยบายสาธารณะของไทยถูกออกโดยกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งจากฝ่ายรัฐหรือชนชั้นปกครอง ซึ่งบางครั้งไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการหรือแก้ไขปัญหาที่แท้จริงของประชาชน ผลประโยชน์สาธารณะไม่ได้ตกสู่สาธารณะอย่างแท้จริงแต่เป็น การเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องเสียมากกว่า ตัวอย่างผลประโยชน์สาธารณะของไทยที่พอจะเห็นเป็นรูปธรรม เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับนโยบายสาธารณะที่ออกโดยรัฐซึ่งมีผลทำให้ผลประโยชน์เกิดต่อประชาชน สังคมโดยรวมพอสมควร
ผลประโยชน์ที่เกิดจากนโยบายสาธารณะจะเป็นผลประโยชน์สาธารณะที่แท้จริงหรือไม่หรือจะเป็นเพียงผลประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น น่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญในการให้ความหมายของผลประโยชน์สาธารณะของไทย เชื่อว่าหากการออกนโยบายสาธารณะถูกออกหรือการมีส่วนร่วมที่แท้จริงจากระดับรากหญ้าหรือผู้มีส่วนได้เสียกับเรื่องนั้นแล้ว นโยบายสาธารณะนั้นก็จะทำให้เกิดผลประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริงดังความหมายที่กล่าวไว้ในข้างต้น
.............
วันชัย ศักดิ์พงศธร รหัส 507 41500 25

onaroon กล่าวว่า...

“ผลประโยชน์สาธารณะ” ในความคิดของข้าพเจ้า หมายถึง ผลประโยชน์ที่ประชาชนส่วนใหญ่จะได้รับ โดยผลประโยชน์สาธารณะที่ว่านี้ส่วนใหญ่จะมาจากการกำหนดนโยบายของรัฐหรือที่เรียกกันว่า “นโยบายสาธารณะ”
ซึ่งนโยบายสาธารณะแต่ละอย่างก็มีที่มาแตกต่างกันไป บ้างก็มาจากนโยบายที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เช่น การจัดสรรพื้นที่ป่าไม้ไว้ให้ประชาชนได้ทำกิน การสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทาน ฯลฯ เป็นต้น บ้างก็มาจากนโยบายที่เกิดขึ้นเพราะรัฐต้องการสร้างประชานิยมให้กับตัวเอง ที่เห็นชัดๆเลยคือ 30 บาทรักษาทุกโรค แน่นอนว่าผลประโยชน์สาธารณะถ้ามองเผินๆมันอาจจะเป็นเรื่องที่ดี เป็นเรื่องที่เอื้อประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีคนที่ออกมาเรียกร้องจาก นโยบายนี้อยู่ดี ดังนั้น มันก็ต้องมีคนส่วนน้อยที่ไม่ได้รับผลประโยชน์แถมยังอาจจะเป็นปัญหากับพวกเค้าจากเรื่องเดียวกันที่ว่านี้ อย่าลืมว่าทุกๆสิ่งทุกๆอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรที่สมบรูณ์แบบอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าเราจะมีวิธีการจัดการแก้ปัญหาอย่างไร ให้คนส่วนน้อยได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หรือไม่ได้รับผลกระทบเลย(ซึ่งไม่มีทาง)ยกตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อน(ที่ทุกวันนี้มีปัญหากันอยู่ )ที่แก่งเสือเต้น อย่างที่รู้กันว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการชลประทาน กักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามแล้ง การได้พลังงานไฟฟ้ามาใช้ แต่ข้อเสียมันคือการทำลายป่าไม้ทำลายระบบนิเวศ ซึ่งมีผลต่อการประกอบอาชีพของชาวบ้านในละแวกนั้น
ซึ่งวิธีการหาทางออกที่ดีที่สุดนั้น คือการรับฟังความคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย ศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ถึงผลดีผลเสียที่จะตามมา แล้วก็ทำประชาพิจารณ์สรุปผลออกมา แต่ในความเป็นจริงของบ้านเรานั้น กระบวนการที่ว่านี้มันไม่ได้ใช้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ ด้วยว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้รับความรู้ที่เพียงพอจากหน่วยงานของรัฐ ในบางครั้งที่รัฐจงใจปิดบังข้อมูลข่าวสารเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้กับพวกพ้องตัวเอง ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่านโยบายมันไม่ได้เป็นสาธารณะอย่างแท้จริง

อรอรุณ สิทธิ 5074167825

Sorasak C. กล่าวว่า...

ผลประโยชน์สาธารณะของไทย :

การอยู่ร่วมกันของสังคมมนุษย์ทำให้เกิดระเบียบแบบแผนของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมขึ้น เนื่องจากมนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคมอาจจะไม่ราบรื่นเสมอไป จึงต้องมีผู้ให้ความเป็นธรรมหรือต้องมีกฎระเบียบที่มีลักษณะบังคับให้สมาชิกของสังคมทุกคนต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดหลักประกันว่าบุคคลจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง โดยนัยดังกล่าวนี้จึงเกิดมีรัฐบาลขึ้นเพื่อทำหน้าที่ผู้ให้ความเป็นธรรมในสังคมและบังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาความยุติธรรมในสังคม

อาจกล่าวได้ว่าการรักษาความยุติธรรมในสังคมเป็นผลประโยชน์สาธารณะเรื่องแรกๆ ที่มีการกล่าวถึงสังคมไทย ทั้งนี้เพราะถือว่าการรักษาความยุติธรรมเป็นการให้ความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานของบุคคลซึ่งจะให้ประโยชน์แก่ทุกคนในสังคม นอกจากนั้นยังส่งผลให้สังคมส่วนรวมมีความสงบเรียบร้อยและสามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าได้ต่อไป ผลประโยชน์จากการรักษาความยุติธรรมจึงมีลักษณะผสมกลมกลืนกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวม

นอกจากนั้น ยังมีเรื่องอื่นๆที่ถือกันว่าเป็นผลประโยชน์สาธารณะและเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดูแลรับผิดชอบ ในฐานะผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในนามของสังคมส่วนรวม เช่น การป้องกันประเทศ การจัดบริการสาธารณะที่จำเป็นพื้นฐาน เป็นต้น

ผู้ส่ง : นายสรศักดิ์ ชิตชลธาร รหัสนิสิต 5074156925

Chayanee กล่าวว่า...

ผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) คือ ผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน ที่ทุกคนที่อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกันควรจะได้รับ และควรจะเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการร่วมกัน ไม่ใช่ตอบสนองต่อความต้องการของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยส่วนใหญ่แล้วผลประโยชน์สาธารณะจะเป็นผลมาจากการกำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆ ของหน่วยงานของรัฐบาล ซึ่งถ้ามีข้อผิดพลาด หรือ นโยบายที่ออกมาไม่ประสบความสำเร็จก็จะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง
ผลประโยชน์สาธารณะในประเทศไทย เป็นการดำเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านต่างที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นความต้องการด้านสาธารณูปโภค และ สาธารณูปการ แต่ในระบบราชการของประเทศไทย ขั้นตอนในการดำเนินการให้เกิดประโยชน์สาธารณะมักเกิดการทุจริต คอรัปชั่นของผู้ดำเนินการซึ่งไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างผลประโยชน์สาธารณะกับผลประโยชน์เอกชน หรือผลประโยชน์ส่วนตนได้ อีกทั้งเป็นผลมาจากระบบของการบริหารงานภาครัฐและการบริหารงานสาธารณะที่ยังมีช่องโหว่ กลไกการกำกับดูแลยังขาดประสิทธิภาพ มีกฎเกณฑ์ที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งมีช่องทางที่เอื้ออำนวยให้เกิดการกระทำทุจริตในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งโดยความตั้งใจ โดยขาดความรู้ความเข้าใจ และโดยความพลั้งเผลอ แม้จะมีการปรับโครงสร้างขององค์กรที่เกิดขึ้นในรูปแบบใหม่ ๆ แต่ผู้ปฏิบัติงานยังคงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใช้งบประมาณแผ่นดิน และให้บริการสาธารณะ เพราะฉะนั่นการที่จะทำให้เกิดประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริงในประเทศไทย ต้องมีการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในหน่วยงานต่างของรัฐอย่างจริงจัง


ชญาณี จริงจิตร 5074111625

Pongpol กล่าวว่า...

ผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) นั้นหากตีความตามนัยแบบตรงไปตรงมานั้นคงแบ่งความหมายออกได้เป็น 2 คำ คือ คำว่า “ผลประโยชน์” ซึ่งน่าจะหมายถึงผลของการกระทำซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ และคำว่า “สาธารณะ” หมายถึง เพื่อประชาชนทั่วไป ดังนั้น คำว่า ผลประโยชน์สาธารณะของไทยหากพิจารณากันอย่างง่ายก็คือ “ผลของการกระทำเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยโดยทั่วไป” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายไม่ซับซ้อนสามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องตีความเท่าใดนัก แต่ในทางกลับกันผลประโยชน์สาธารณะนี้ กลับเป็นการกระทำที่วัดผลของการกระทำได้ยาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากคำว่าสาธารณะ หรือ เพื่อประชาชนโดยทั่วไปนั้น หมายความว่าประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ ซึ่งอาจมีบางกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่ได้รับประโยชน์หรือได้รับผลเสียจากการกระทำนั้นๆ การที่จะวัดว่า กลุ่มที่จะได้รับผลประโยชน์นั้นมีเป็นจำนวนเท่าใด ผู้ได้รับผลเสียนั้นมีเท่าไรคงดำเนินการได้ยาก แต่ทั้งนี้รัฐบาล ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายในการกระทำต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อชาวไทยทั้งประเทศ จะสามารถตอบคำถามให้กับตนเองได้อย่างดีที่สุดว่านโยบายที่ตนกำหนดนั้นเป็นผลดีกับชาวไทยโดยส่วนใหญ่หรือไม่
ดังจะเห็นได้จากในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นั้น เป็นช่วงที่มีการถกเถียงกันมากระหว่าง ผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) และผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) เนื่องจากมีการตั้งข้อสังเกตว่า ผลจากการกระทำตามนโยบายของรัฐบาลในช่วงนั้น เป็นผลประโยชน์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนโดยส่วนใหญ่จริงหรือไม่ หากพิจารณากันแยกส่วนในแต่ละนโยบายนั้นอาจตอบคำถามได้ไม่ยากเช่น โครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค แน่นอนผลประโยชน์เกิดขึ้นส่งผลให้ประชาชนโดยส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้โดยง่าย ซึ่งเป็นนโยบายประชานิยมที่ครอบคลุมประชาชนสัญชาติไทยทุกคน ที่ยังไม่มีสิทธิใด ๆ จากหลักประกันอื่นที่รัฐจัดให้ ดังนั้นเมื่อบุคลากรด้านการแพทย์ของประเทศมีจำนวนเท่าเดิมแต่ต้องให้บริการแก่ประชาชนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากนั้น ส่งผลกระทบต่อคุณภาพในด้านการบริการลดลงแต่ได้บริการให้กับกลุ่มคนจำนวนมากขึ้น ซึ่งหากพิจารณาในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 (บังคับใช้ในขณะนั้น) ตามมาตรา 82 บัญญัติไว้ว่า”รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง” แล้วพบว่านโยบายดังกล่าวสนับสนุนภาครัฐให้บริการด้านสาธารณะสุขได้อย่างทั่วถึงแต่ประสิทธิภาพนั้นอาจลดลง ส่งผลให้มีประชาชนกลุ่มหนึ่งหันไปใช้การรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลเอกชนเพิ่มมากขึ้น ดังตัวอย่างในกรณีนี้ จะเห็นได้ว่าผู้ได้รับผลประโยชน์คือ ผู้มีรายได้น้อยซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ และกลุ่มนายทุนผู้ถือหุ้นหรือเป็นเจ้าของโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งนโยบายในลักษณะดังกล่าวนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นนโยบายที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สาธารณะ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ แต่จะเป็นนโยบายที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่นั้น ผู้กำหนดนโยบายนั้นจะเป็นผู้ที่สามารถตอบคำถามได้ดีที่สุด

ผู้ส่ง
นาย ป อ ง พ ล ท อ ง ส ม จิ ต ร
507 44055 25

Unknown กล่าวว่า...

ผลประโยชน์สาธารณะ (Public interests) น่าจะหมายถึง ผลประโยชน์โดยส่วนรวมของประชาชนทุกคน ทุกคนสามารถได้รับประโยชน์โดยทั่วถึงกัน เป็นการแบ่งสรรผลประโยชน์อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง โดยที่ผลประโยชน์สาธารณะมักเกี่ยวข้องกับการบริหารและการเมือง ดังจะเห็นได้ว่าผู้ที่ประชาชนได้มอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบดูแลผลประโยชน์คือ ภาครัฐ ซึ่งก็คือ ข้าราชการ และนักการเมือง ซึ่งเป็นบุคคลสาธารณะ ผลประโยชน์ที่ได้จะได้ประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อข้าราชการ และนักการเมือง จะต้องเป็นผู้ที่มีหลักจริยธรรมในการทำงาน คือปฏิบัติหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อมุ่งแสวงหาความร่ำรวยส่วนตัว ในขณะเดียวกัน บุคคลสาธารณะ จะต้องปลอดพ้นจากอิทธิพลต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วการบริหารงานมักถูกแทรกแซงเสมอ โดยมีผลประโยชน์ส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังจะเห็นได้จากนโยบายต่างๆที่ออกมา มักมีการแอบแฝงผลประโยชน์ตามขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ ทำให้ผลประโยชน์ที่ได้มักไม่ค่อยตอบสนองต่อประชาชนโดยแท้จริง
ดังนั้นหากต้องการให้ผลประโยชน์สาธารณะมีประสิทธิภาพและส่งผลแก่ประชาชนมากที่สุดก็ต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกฝ่าย และไม่แสวงหาแต่ประโยชน์ส่วนตน

ผู้ส่ง : นางสาวธัญมน สินชัยกิจ นิสิตปริญญาโท สาขาการวางผังเมือง รหัส 507 41168 25

prasong กล่าวว่า...

ผลประโยชน์สาธารณะของไทยคืออะไร
นายประสงค์ จารุรัตนพงศ์
5074127725

ผลประโยชน์สาธารณะ เป็นคำที่ถูกกล่าวถึงในด้านการเป็นบรรทัดฐานเกี่ยวกับคุณธรรมของนักปกครอง อีกทั้งเป็นสิ่งที่ควรคำนึกในการวางนโยบายต่างๆ อีกด้วย ในความคิดของข้าพเจ้าแล้ว ผลประโยชน์สาธารณะ น่าจะหมายถึง ผลประโยชน์ส่วนร่วมของประชาชน ไม่ใช่ผลประโยชน์ส่วนบุคคล หรือกลุ่มบุคคลหนึ่งที่ได้รับประโยชน์เพียงกลุ่มเดียว อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้โยชน์ใดเลย โดยผลประโยชน์เหล่านี้ไม่ใช่เป็นไปในลักษณะผลกำไรหรือผลตอบแทน แต่เป็นสิ่งที่สร้างความเสมอภาคให้แก่กัน

สำหรับผลประโยชน์สาธารณะในประเทศไทยนั้น อาจมองได้ในอีกหลายมิติ อย่างเช่นการจัดการระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการของรัฐอันเป็นระบบสวัสดิการที่รัฐจะต้องจัดการให้กับประชาชน อีกทั้งระบบราชการที่ต้องเกี่ยวข้องกับประชาชน โดยอาศัยเงินทั้งที่มาจากระบบภาษีอากรหรือค่าบำรุงที่ประชาชนเป็นผู้จ่ายให้ ซึ่งรายได้ที่เปรียบเป็นต้นทุนเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นรายได้จากสาธารณะ ที่ภาครัฐจะต้องกลับคืนมาในรูปแบบการบริการที่ไม่แสวงหาผลกำไรมากนัก อีกทั้งสามารถตรวจสอบได้ ต้นทุนเหล่านี้ทำให้ระบบขับเคลื่อนไปได้ ความสะดวกที่รัฐบาลได้บริหารให้นี้ข้าพเจ้าถือว่าเป็นผลประโยชน์ที่สาธารณะควรได้รับ แต่ถ้าหากการบริหารงานเหล่านี้ได้มุ่งหวังเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งอาศัยเงินภาษีไปหากำไรซึ่งทำให้มีผู้ได้ประโยชน์เพียงกลุ่มเดียว กรณีนี้ทำให้ประชาชนเสียผลประโยชน์สาธารณะ อย่างเช่นกรณี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ

อีกมิติหนึ่ง คือ นโยบายสาธารณะมิใช่เพียงแค่เป็นผลโยชน์ของคนส่วนใหญ่ โดยเพิกเฉยต่อประโยชน์หรือความต้องการของกลุ่มคนส่วนที่มีน้อยกว่า แต่ผลประโยชน์สาธารณะจะต้องประสานของทั้งสองฝ่ายให้ได้ดุลยภาพ ให้คนส่วนใหญ่พอใจและคนส่วนน้อยก็ยังมีที่ยืนในสังคม กรณีได้แก่ กรณีป่าชุมชน พ.ศ. 2548 ที่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่าหลายแสนคน ยื่นขอให้ตนเองสามารถจัดการป่าได้ แต่วุฒิสภาได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว และได้ถูกตีกลับ โดยรัฐมนตรีกระทรวงได้อ้างเหตุผล คนอีก 50 กว่าล้านที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ น่าจะมีความคอดเห็นที่ไม่เห็นด้วย ควรเอาตามเสียงส่วนใหญ่ ที่ไม่คำนึกถึงวิถีชิวิคของคนในพื้นที่ป่าเหล่านี้เลย ถือว่าไม่ได้ยึดตามผลประโยชน์สาธารณะ

ดังนั้นในการศึกษาเพื่อการวางแผน จึงควรเข้าใจถึงผลประโยชน์สาธารณะ เพื่อจะทำให้ทุกคนในสังคมได้รับผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน จึงต้องรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนโดยทั่วกัน เพื่อให้ผลประโยชน์นั้นเป็นของสาธารณะชนโดยแท้จริง

Unknown กล่าวว่า...

ผลประโยชน์สาธารณะ ในทัศนะของข้าพเจ้าคือ ผลประโยชน์ที่สังคมส่วนรวมได้รับโดยที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิได้รับเท่าเทียมกัน กล่าวคือเป็นการจัดสรรผลประโยชน์โดยเป็นธรรม ไม่มีข้อแม้ใดๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความเท่าเทียมกันในสังคม โดยผู้นำนโยบายไปปฏิบัติก็คือภาครัฐ ที่จะต้องทำให้นโยบายนั้นๆเกิดประโยชน์แก่ภาคประชาชน ซึ่งในการนำนโยบายนั้นๆไปปฏิบัติ ภาครัฐจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะที่จะเกิดขึ้นในสังคมว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยแท้จริง มีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่ตามขั้นตอนต่างๆหรือไม่ ดังจะเห็นได้จากการนโยบายที่ออกมาบางส่วน เป็นการตอบสนองความต้องการของผู้กำหนดนโยบายมากกว่าต้องการตอบสนองความต้องการของประชาชน
ผลประโยชน์สาธารณะควรเป็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากนโยบายที่กำหนดเพื่อตองสนองต่องส่วนรวมอย่างแท้จริง ไม่ควรเป็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น

นายอรรฆพล ห่อมณี 5074166125 นิสิตปริญญาโท สาขาการวางผังเมือง

uthai กล่าวว่า...

ผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ของไทย คือ ผลประโยชน์ของสาธารณชนจะเน้นผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักสำคัญสำหรับนโยบายสาธารณะ โดยที่ผลประโยชน์สาธารณะดังกล่าวไม่จำกัดว่าเป็นผลประโยชน์ของรัฐบาลหรือเพื่อประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งถือเป็นเป้าประสงค์ที่สำคัญของนโยบายสาธารณะ
ลักษณะของผลประโยชน์สาธารณะ จำแนกได้เป็น 3 ประการ คือ 1.พิจารณาจากนโยบายในแต่ละด้านว่ามีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์มากหรือไม่ หรืออาจพิจารณาจากผลประโยชน์โดยตรงของกลุ่มผลประโยชน์แต่ละกลุ่ม ซึ่งเป็นที่ยอมรับ คือ ผลประโยชน์สาธารณะ 2.แนวทางที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งสรรผลประโยชน์อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ผลประโยชน์สาธารณะ 3.พิจารณาจากความต้องการขององค์การและระเบียบวิธีปฏิบัติการ จะเป็นตัวแทนการสร้างประโยชน์ที่สมดุล หรือเพื่อการแก้ไขปัญหา เพื่อที่จะมีผลต่อการประนีประนอมต่อการก่อรูปนโยบาย และการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ จุดเน้นในประเด็นนี้จะมุ่งที่กระบวนการมากกว่าเนื้อหาของนโยบาย
เมื่อมีการกำหนดนโยบายหนึ่งๆขึ้นมา นโยบายสาธารณะจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีผลประโยชน์ต่อฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังนี้คือ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายข้าราชการ ฝ่ายประชาชน และสำหรับผู้ศึกษานโยบายสาธารณะหนึ่งๆ อาทิ เช่น ฝ่ายรัฐบาล ถ้านโยบายที่รัฐกำหนดขึ้นสอดคล้องตามความต้องการของประชาชน จะทำให้รัฐบาลได้รับความศรัทราเชื่อถือและเป็นที่นิยมชมชอบ เช่น นโยบายของพรรคไทยรักไทย ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นรัฐบาลได้แก่ นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งละ 1 ล้านบาท ถ้ารัฐบาลสามารถนำนโยบายดังกล่าวไปปฎิบัติจนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด เป็นไปได้ว่าประชาชนจะรู้สึกพึงพอใจในนโยบายและทำให้รัฐบาลได้รับเลือกตั้งสมัยที่ 2 แต่ถ้านโยบายไม่สามารถดำเนินการและบรรลุเป้าหมายได้ ประชาชนอาจเสื่อมความศรัทธา ไม่เชื่อถือรัฐบาล และไม่สนับสนุนรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป เหตุการณ์ดังกล่าว ก็เป็นตัวอย่างผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest)รูปแบบของฝ่ายรัฐบาล เป็นต้น

ผู้ส่ง : นายอุทัย ชาติเผือก นิสิตปริญญาโท สาขาการวางผังเมือง รหัส 5074171225

S.sittichok กล่าวว่า...

ผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ของไทยคืออะไร...
ตามความเข้าใจก็คือ กิจกรรมที่รัฐดำเนินการโดยมีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณชน ทุกคนมีโอกาสได้รับประโยชน์ตามสิทธิที่พึงจะได้รับ ไม่ใช่เพื่อเอกชน บุคคล หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
.......................
สิทธิโชค สุระตโก
ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง
รหัส 5074157525